หน้าแรก || ภาพการ์ตูนอาเซียน || แบ่งปันภาพระบายสีให้เพื่อน || เพื่อนบ้านของเรา  ค้นหาอะไรก็เจอตรงนี้ By Blog . . . . . ..
 
ผู้จัดทำอยากจะบอก : เข้ามาแล้วอย่าพึ่งรีบไปไหน ลองเยี่ยมชม Blog ก่อนมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด...... , บอกรักแม่ผ่าน Facebook ..ขออภัยสำหรับท่านที่ใช้ความละเอียดหน้าจอ น้อยกว่า 1280-1366px ที่แสดงผลเกินหน้าจอ ,แก้ไขปัญหาดาวน์โหลด ziddu.com ไม่ได้

มรดกโลกภูมิภาคอาเซียน World Heritage Asean






วันนี้ผมจะพาเพื่อนชาว Loadebookstogo ไปท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ พร้อมประวัติความเป็นมา  ของภูมิภาคอาเซียนครับ หรือเป็นมรดกโลกในภูมิภาคอาเซียน..หลายแห่ง มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าประเทศ แบบว่าอดใจไม่ไหว ทำให้ประเทศนั้นๆ มีเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่ดี...เรามาดูกันนะครับ มีที่ไหนบ้าง...(จะค่อยๆ นำขึ้น Blog นะครับ...)








มรดกโลกภูมิภาคอาเซียน 


เวียตนาม (7)
¤ ฮาลองเบย์ 
¤ ป้อมปราการหลวงทังล็อง
¤ อุทยานแห่งชาติฟงงา-เค บัง
¤ เมืองโบราณฮอยอัน
¤ หมู่บ้านโบราณสถานเมืองเว้ 
¤ สถานที่ศักสิทธิ์หมี่เซิน
¤ ป้อมปราการของราชวงศ์โห่

ไทย (5)
¤ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
¤ นครประวัติศาสตร์สุโขทัย
¤ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง 
¤ ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
¤ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้ง

กัมพูชา (2)
¤ อังกอร์วัด
¤ ปราสาทพระวิหาร


อินโดนนีเซีย (8)
¤ อุทยานแห่งชาติโคโมโด
¤ อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์
¤ อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน 
¤ วัดพรัมบานัน 
¤ วัดบรมพุทโธ 
¤ แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน
¤ มรดกป่าฝนเขตร้อนเกาะสุมาตรา
¤ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเมืองบาหลี
   : ระบบชลประทานการจัดการน้ำแบบสุบัก

มาเลเซีย (4)
¤ มะละกาและจอร์จทาวน์
¤ อุทยานแห่งชาติคินาบาลู 
¤ อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู
¤ โบราณคดีหุบเขาเล็งก็อง

 ลาว (2)
¤ เมืองหลวงพระบาง 
¤ ปราสาทวัดพ


ฟิลิปปินส์ (5)
¤ โบสถ์ยุคบารอค
¤ นครประวัติศาสตร์วีกัน
¤ นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์
¤ อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ 
¤ อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต- ปรินเซซา



มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนอยู่ทั้งหมด
 33 แห่ง ใน 7 ประเทศ ( อัพเดต 1 กย. 2555)
ประกอบด้วยประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ส่วนบรูไน สิงคโปร์  ไม่มีแหล่งมรดกโลก
เนื่องจากว่าประเทศอาจจะมีขนาดเล็กเกินไปและไม่มีสถานที่เข้าเกณฑ์
ส่วนพม่าเพิ่งเข้าเป็นสมาชิก UNESCO และมีปัญหากับทาง UNESCO
เกี่ยวกับการบูรณะโบราณสถาน ทำให้ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน


มรดกโลก ภูมิภาคอาเซียน ประเทศเวียนนาม


อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) 

เริ่มประเทศแรกเลยนะครับ เวียดนาม เหตุผลส่วนตัวครับชอบสถานที่นี้มาก เลยขอเริ่มก่อน
อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long)
อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) ประเทศเวียดนาม



อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อในภาษาเวียดนาม หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"

อ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น  อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537


 สำหรับอ่าวฮาลอง หรือ ฮาลองเบย์ นั้นได้ตามนิทานปรัมปราของชาวเวียตนาม ที่กล่าวถึงมังกรโบราณซึ่งเคยร่อนมาลงในอ่าวนี้เมื่อครั้งดึกดำบรรพ์ และชื่อของฮาลอง ก็แปลได้ว่า มังกรร่อนลง จากความสวยงามและสมบูรณ์ของอ่าวฮาลอง ทำให้ที่นี่ประกาศได้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์กรยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นเสมือนประกาศนียบัตรที่ใครเห็นต่างเชื่อถือ จึงทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศเวียตนาม ต้องล่องเรือมาชมอ่าวฮาลองเพื่อสัมผัสกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ





ป้อมปราการหลวงทังล็อง

ป้อมปราการหลวงทังล็อง มรดกโลกภูมิภาคอาเซียน





ป้อมปราการหลวงทังล็อง เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยราชวงศ์ลี้ แสดงอิสรภาพที่มีต่อชาวจีนของชาวไดเวียด พระราชวังนี้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการศาสนามากว่า 13 ศตวรรษต่อเนื่องโดยตลอดป้อมปราการหลวงทังล็องได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 34 เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่กรุงบราซีเลีย ประเทศบราซิล ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ






ส่งต่อเรื่องนี้ซิ !! เผื่อจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ :





บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก